โดยทั่วไปนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านความสวยงาม และทางด้านผิวพรรณมักจะเตือนให้ระวังผิวจะหมองคล้ำเมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง เนื่องจากแดดเผาและเมื่อต้องถูกแสงแดดเป็นเวลานานก็เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน
ดวงอาทิตย์เป็นตัวช่วยให้เกิดสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงนี้, แต่สิ่งมีชีวิตก็ได้รับรังสีต่างๆที่เป็นอันตรายด้วย สิ่งที่เป็นอันตรายที่ดวงอาทิตย์แผ่ออกมาก็คือ รังสี Ultraviolet (UV) radiation รังสี UV คือส่วนหนึ่งของรังสีที่แผ่ออกมา แต่สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่เราสร้างขึ้นมาก็สามารถเป็นต้นกำเนิดของรังสี UV ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เครื่องอาบแดดเพื่อให้ร่างกายมีสีแทน เครื่องสร้างแสง UV ใช้ฆ่าเชื้อโรคในเครื่่องกรองน้ำ และเครื่อง เลเซอร์ ฯลฯ
อันตรายจากรังสี UV
คนส่วนมากจะสนใจป้องกันแค่ผิวกายของตนเองโดยใช้ครีมกันแดด แต่ละเลยหรือไม่ตระหนักถึง การป้องกันอันตรายจากรังสี UV ที่มีต่อสายตาและมีผลกระทบต่อการมองเห็น มีคนจำนวนมากยังเข้าใจผิดว่ารังสี UV เป็นแสงที่มองเห็นได้แต่ตามความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถมองเห็นรังสีเหล่านี้ได้
นักวิทยาศาสตร์จำแนกรังสี UV ออกเป็นสามประเภท
1. UV-C เป็นรังสีที่มีพลังงานสูงและเป็นอันตรายต่อดวงตาและผิวหนังมากที่สุด แต่โชคดีที่เรามีบรรยากาศชั้น atmosphere’s ozone layer หรือชั้น โอโซนในบรรยากาศ ดูดซับเอาไว้ จึงไม่สามารถผ่านมาทำอันตรายเราได้ ที่ผ่านมาได้ก็เป็นเพียงส่วนน้อย UV-C มีช่วงความยาวคลื่น 100-280 นาโนเมตร nm.
2.UV-B มีช่วงความยาวคลื่น 280-315 นาโนเมตร มีพลังงานน้อยกว่า UV-C ส่านหนึ่งถูกซับไว่้โดยชั้นโอโซน แต่ก็ยังคงมีเล็ดลอดลงมายังผิวโลกได้ รังสี UV-B นี้เป็นตัวทำ่ให้เม็ดสีที่ผิวหนังหรือที่เรียกว่า เมลานินเปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้ที่ถูกแสงเดดเป็นเวลานานผิวจึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ถ้าได้รับแสงแดดจัดเป็นเวลานานจะเกิดอาการผิวไหม้และมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้ด้วย โดยเฉพาะในผู๋้ที่มีผิวขาวหรือคนยุโรป
3. UV-A เป็นรังสีที่มีพลังงานน้อยกว่า UV-B ,UV-C และเป็นคลื่นแสงที่อยู่ใกล้กับแถบคลื่นที่สามารถมองเห็นได้ z แต่เมื่อเราได้รับแสงในปริมาณมาก UV-A ที่อยู่ในแสงแดด สามารถผ่าน cornea มาสู่เลนส์ตาและเรตินา
จากการศึกษาและวิจัย การป้องกันอันตรายจากรังสี uv ของนักวิทยาศาสตร์ แสดง ให้เห็นว่าเมื่อได้รับรังสี UV ในปริมาณเล็กน้อยแต่ได้รับต่อเนื่องเป็นแวลานานติดต่อกัน หลายปี มีโอกาสที่จะเป็นต้อและสร้างความเสียหายต่อ retina รวมทั้งจอปราสาทตา ด้วย แสงที่มีคลื่นรังสีช่วงสั้น ( แสงสีน้ำเงินและแสงสีม่วง ) ก่อให้เกิดอันตรายต่อเรตินาได้เช่นกัน
ถ้าดวงตาของเรา ได้รับรังสี UV ในปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ ผลรับจะเหมือนกับการทดลองที่เรียกว่า photokeratitis ซึ่งเหมือนกับผิวหนังไหม้แต่จะเกิดที่ดวงตาแทน ทำให้เจ็บปวดลักษณะเหมือนตาแดง ตาจะเกิดอาการแพ้แสงอย่างรุนแรง น้ำตาจะไหลออกมามาก แต่ยังดีที่อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่แค่ชั่วครู่และไม่สร้างความเสียหายแก่ตาของเราอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม ถ้าเราโดนรังสี UV เป็นเวลานานจะเป็นอันครายมาก
จากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าเมื่อได้รับรังสี UV ในปริมาณเล็กน้อยแต่ได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานติดต่อกันหลายปี มีโอกาสที่จะเป็นต้อและสร้างความเสียหายต่อ retina รวมทั้งจอปราสาทตาด้วย แสงที่มีคลื่นรังสีช่วงสั้น ( แสงสีน้ำเงินและแสงสีม่วง ) ก่อให้เกิดอันตรายต่อ เรตินาได้เช่นกัน ผลงานการวิจัยชิ้นใหม่พบว่า รังสีพลังงานสูงที่มองเห็นได้ high-energy visible (HEV) radiation หรือที่เรียกว่า ” แสงสีน้ำเงิน” จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด macular degeneration ผู้ที่มีระดับของวิตามิน c และสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ในส่วนของพลาสม่าต่ำจะมีความเสี่ยง จากแสงสีน้ำเงินที่จะสร้างความเสียหายให้กับจอประสาทตาได้สูง (retinal damage)
เวลาที่เราได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ยิ่งนานเท่าไร โอกาสที่เราจะเป็นต้อหรือมีอาการที่เรียกว่า macular degeneration ก็จะเพิ่มขึ้นตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าต้องได้รับปริมาณรังสีเท่าไรจึงจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากรังสี UV เราจึงแนะนำให้ทุกท่านสวมแว่นกันแดดทีมีคุณภาพและใช้หมวกที่มีปีกกว้างหรือหมวกแก๊ปเมื่อต้องใช้ชีวิตกลางแจ้ง ไม่ควรมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยๆมักจะไม่สนใจป้องกันตัวเองเท่าที่ควร อย่างแอดมินเองเมื่อก่อนก็ไม่ใส่ใจ มาเริ่มใช้แว่นกันแดดอย่างจริงจังก็เมื่ออายุ 30 กว่าแล้วแต่ก็ไม่สายเกินไป เพราะคนรุ่นเดียวกับเรา เป็นต้อหรือตาเสี่อมไปหลายคนแล้ว แอดมินตายังแจ๋วอยู่เลยเพราะใช้แว่นกันแดดเป็นประจำจนติดเป็นนิสัยซะแล้ว
การป้องกันอันตรายจากรังสี UV
เพื่อให้การป้องกันอันตรายจากรังสี uv เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แว่นกันแดดที่ใช้ควรจะมีคุณสมบัติต่อไปนี้
สามารถป้องกันรังสี UV-A และ UV-B ได้ 99-100 %
ดูดซับแสงสีน้ำเงินได้ 75- 90 %
ใช้เลนส์สีเทา ทำให้การมองเห็นสีไม่ผิดเพี้ยน
เมื่อคุณทำงานที่อันตรายหรือเล่นกีฬา เลนส์ของแว่นกันแดดที่ใช้ควรผลิตจาก วัสดุ polycarbonate or Trivex® เลนส์ชนิดนี้จะทนต่อแรงกระแทกได้ดีมาก แต่ถ้าท่านใช้แว่นสายตาซึ่งปกติแล้วไม่สามารถกันแดดได้อยู่แล้ว ท่านควรจะใช้ที่กันแดดสวมทับแว่นสายตาของท่าน หรือที่เรียกว่า “คลิปออน” เพื่อปกป้องดวงตาของท่านจากรังสี UV และแสงสีน้ำเงินที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ทาง lovelyglasses มีบริการเคลือบสีเลนส์สายตาเพื่อป้องกันรังสี UV สีที่เราใช้เป็นสี มาตรฐานจาก เยอรมัน สามารถป้องกัน UV ได้ 100% หรือหากท่านต้องการ เลนส์ปรับแสงอัตโนมัติ photochromic เราก็มีไว้บริการท่านเช่นกัน
เมื่อต้องอยู่กลางแดดจ้าเป็นเวลานานๆ การป้องกันอันตรายจากรังสี uv ควรสวมหน้ากากคลุมใบหน้าและสวมแว่นกันแดดทับอีกที เพื่อป้องกันใบหน้าไหม้จากแดดเผา อย่าละเลยเด็กเล็กและเด็กโต เพราะพวกเขาชอบอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ มากกว่าผู้ใหญ่ ไปพบหมอหรือนักทัศนมาตร อย่างน้อยสองปีต่อหนึ่งครั้ง เพื่อรับการตรวจตา เพื่อสุขภาพตาและการมองเห็นที่ดีจะคงอยู่กับท่านตลอดไป
อ้างอิงจาก
http://ergoldbook.blogspot.com/
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed
https://en.wikipedia.org/wiki/UV_marker
http://www.freehdwall.com/ thank for your picture.
http://nothingnerdy.wikispaces.com/THE+ELECTROMAGNETIC+SPECTRUM
อ่านแล้วกลัวแดดเลย